เปล่า

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: เปลา และ เปล๋า

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *plɤwᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເປົ່າ (เป็่า), ภาษาคำเมือง ᨸᩖᩮᩢ᩵ᩣ (เปฺลั่า), ภาษาไทลื้อ ᦔᧁᧈ (เป่า), ภาษาไทใหญ่ ပဝ်ႇ (ป่ว), ภาษาอาหม 𑜆𑜧 (ปว์) หรือ 𑜆𑜨𑜧 (ปอ̂ว์), ภาษาไทดำ ꪹꪜ꪿ꪱ (เป่า), ภาษาไทขาว ꪹꪜꪱꫀ, ภาษาปักษ์ใต้ เปล๋า, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง byaeuq, jaeuq, ภาษาจ้วง byaeuq

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ปฺล่าว
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงbplàao
ราชบัณฑิตยสภาplao
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/plaːw˨˩/(สัมผัส)

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

เปล่า (คำอาการนาม ความเปล่า)

  1. ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง
    ขวดเปล่า
    มือเปล่า
  2. ว่าง ๆ
  3. ไม่มีข้อผูกพัน
    ให้เปล่า
    ได้เปล่า
  4. อ้างว้าง, ว้าเหว่
    เปล่าอก
    เปล่าใจ
    เปล่าเปลี่ยว
  5. (ภาษาปาก) ไม่มีความผิด, ไม่มีส่วนร่วม (ในสิ่งที่ผิด)

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

เปล่า (คำอาการนาม ความเปล่า)

  1. เป็นคำปฏิเสธ แปลว่า ไม่มี ไม่เป็นอย่างนั้น