ข้ามไปเนื้อหา

มัน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย

[แก้ไข]

รูปแบบอื่น

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์มัน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงman
ราชบัณฑิตยสภาman
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/man˧/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงมันส์

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

สืบทอดจากไทดั้งเดิม *manᴬ (พืชมีหัวใช้เป็นอาหาร); ร่วมเชื้อสายกับลาว ມັນ (มัน), คำเมือง ᨾᩢ᩠ᨶ (มัน), เขิน ᨾᩢ᩠ᨶ (มัน), ไทลื้อ ᦙᧃ (มัน), ไทใหญ่ မၼ်း (มั๊น), อาหม 𑜉𑜃𑜫 (มน์), จ้วง maenz

คำนาม

[แก้ไข]

มัน (คำลักษณนาม หัว)

  1. ชื่อเรียกไม้เถาหรือไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลหลายวงศ์ หัวใช้เป็นอาหารได้
ลูกคำ
[แก้ไข]

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

สืบทอดจากไทดั้งเดิม *manᴬ (ไข; ไขมัน); ร่วมเชื้อสายกับลาว ມັນ (มัน), คำเมือง ᨾᩢ᩠ᨶ (มัน), เขิน ᨾᩢ᩠ᨶ (มัน), ไทใหญ่ မၼ်း (มั๊น), อาหม 𑜉𑜃𑜫 (มน์), จ้วง maenz; เทียบเบดั้งเดิม *maːnᴬ²

คำนาม

[แก้ไข]

มัน

  1. เนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งในคนและสัตว์ มีลักษณะนุ่มหยุ่น ๆ มีไขมันอยู่ในตัว
    มันหมู
    มันไก่

คำคุณศัพท์

[แก้ไข]

มัน (คำอาการนาม ความมัน)

  1. มีรสอย่างรสกะทิหรืออย่างถั่วลิสงคั่ว
  2. เป็นเงา, ขึ้นเงา
    เหงื่อออกหน้าเป็นมัน

รากศัพท์ 3

[แก้ไข]

สืบทอดจากไทดั้งเดิม *manᴬ (สรรพนามบุรุษที่ 3 เอกพจน์); ร่วมเชื้อสายกับอีสาน มัน, ลาว ມັນ (มัน), คำเมือง ᨾᩢ᩠ᨶ (มัน), เขิน ᨾᩢ᩠ᨶ (มัน), ไทลื้อ ᦙᧃ (มัน), ไทดำ ꪣꪽ (มัน), ไทใหญ่ မၼ်း (มั๊น), ไทใต้คง ᥛᥢᥰ (มั๊น), อาหม 𑜉𑜃𑜫 (มน์), จ้วงแบบจั่วเจียง minz/mwnz, จ้วง minz/faenz

คำสรรพนาม

[แก้ไข]

มัน

  1. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง สำหรับผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย มีเด็กเป็นต้นตามสถานะที่ควร สำหรับเรียกผู้อื่นอย่างไม่ยกย่อง และสำหรับเรียกสัตว์หรือสิ่งอื่นทั่ว ๆ ไปตามที่ควร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3
ดูเพิ่ม
[แก้ไข]

รากศัพท์ 4

[แก้ไข]

คำกริยา

[แก้ไข]

มัน (คำอาการนาม การมัน หรือ ความมัน)

  1. เพลิน, ถูกอกถูกใจ, ออกรสออกชาติ
    เกาเสียมัน
ดูเพิ่ม
[แก้ไข]