เพื่อน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาจีนยุคกลาง (MC banX); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨻᩮᩬᩥ᩵ᩁ (เพอิ่ร), ᨻᩮᩥ᩠᩵ᨶ (เพิ่น), ภาษาเขิน ᨻᩮᩨ᩠᩵ᨶ (เพื่น), ภาษาลาว ເພື່ອນ (เพื่อน), ເພິ່ນ (เพิ่น), ภาษาไทใหญ่ ပိူၼ်ႈ (เปิ้น), ภาษาเวียดนาม bạn

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เพื่อน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงpʉ̂ʉan
ราชบัณฑิตยสภาphuean
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pʰɯa̯n˥˩/(สัมผัส)

คำสรรพนาม[แก้ไข]

เพื่อน

  1. (โบราณ) คำใช้แทนคำว่า เขา[1][2]
    เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย
    (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลักที่ 1)
  2. (ภาษาปาก) คำใช้แทนคำว่า เขา หรือ ท่าน ในอาการที่เป็นกันเอง
  3. (ภาษาปาก) สิ่งใดก็ตามหรือสิ่งอื่นในพวกเดียวกัน
    ของยี่ห้อนี้ดีกว่าเพื่อน
    ชอบมาก่อนเพื่อนทุกที

คำนาม[แก้ไข]

เพื่อน (คำลักษณนาม คน)

  1. (ล้าสมัย) ผู้ชอบพอรักใคร่กัน
  2. (โบราณ) ผู้หญิงที่รักใคร่ผู้หญิงด้วยกัน
  3. ผู้สนิทสนมคุ้นเคยกัน
    เขามีเพื่อนมาก
  4. ผู้ร่วมสถาบันหรือร่วมอาชีพเป็นต้น
    เพื่อนร่วมโรงเรียน
    เพื่อนร่วมรุ่น
    เพื่อนข้าราชการ
    เพื่อนกรรมกร
  5. ผู้ร่วมธุระ
    อยู่เป็นเพื่อนกันก่อน
    ไปเป็นเพื่อนกันหน่อย
  6. ผู้อยู่ในสภาพเดียวกัน
    เพื่อนมนุษย์
    เพื่อนร่วมโลก

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

คำสืบทอด[แก้ไข]

  • เขมร: ភឿន (เภือน)

อ้างอิง[แก้ไข]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน (2013) พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยสุโขทัย ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลักที่ ๑, 3rd edition, Bangkok: ราชบัณฑิตยสถาน, →ISBN, page 51: “เพื่อน ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แทนผู้ที่ตนพูดถึง หมายถึง เขา ในความว่า "เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย" (๑/๑๙–๒๐)”
  2. วงษ์เทศ, สุจิตต์ (1983) สุโขทัยไม่ใช่ราชธานีแห่งแรกของไทย, Bangkok: เรือนแก้วการพิมพ์, →ISBN, page 179: “เพื่อน หมายถึง เขา (เฉพาะในที่นี้). (ประเสริฐ [ณ นคร]) ในปัจจุบัน คำ เพื่อน หรือ เปิ้น [ในภาษาเหนือ] เป็นสรรพนามบุรุษที่หนึ่งก็ได้ ที่สามก็ได้. (ทองสืบ [ศุภะมารค]) ทางภาคอิสานออกเสียงว่า เผิ่น ใช้เฉพาะบุรุษที่สามเท่านั้น.”

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

เพื่อน

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨻᩮᩬᩥ᩵ᩁ (เพอิ่ร)