คน
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
เนื้อหา
ภาษาไทย[แก้ไข]
การออกเสียง[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ | คน | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | kon |
ราชบัณฑิตยสภา | khon | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /kʰon˧/ | |
คำพ้องเสียง | คนธ์ คล |
รากศัพท์ 1[แก้ไข]
จากภาษาไทดั้งเดิม *ɢwɯnᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨤᩫ᩠ᨶ (ฅ็น), ภาษาลาว ຄົນ (ค็น), ภาษาไทลื้อ ᦅᦳᧃ (คุน), ภาษาไทใหญ่ ၵူၼ်း (กู๊น), ภาษาไทใต้คง ᥐᥨᥢᥰ (โก๊น), ภาษาอาหม 𑜀𑜤𑜃𑜫 (กุน์)
คำนาม[แก้ไข]
คน (คำลักษณนาม คน)
- มนุษย์
- คำใช้ประกอบคำนามหรือคำกริยาแสดงว่าเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับสิ่ง อาการ สภาพ หรือมีลักษณะหรือเป็นอย่างนั้น[1]
- คนข่าว
- คนทีวี
- คนเบื้องหลัง
- คนสวน
- คนส่งของ
- คนขับรถ
- คนเลี้ยงเด็ก
- คนรับใช้
- คนง่อย
- คนพิการ
- คนโกง
ดูเพิ่ม[แก้ไข]
คำเกี่ยวข้อง[แก้ไข]
คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]
รากศัพท์ 2[แก้ไข]
ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຄົນ (ค็น), ภาษาไทใหญ่ ၶူၼ်ႉ (ขู๎น), ภาษาอาหม 𑜁𑜤𑜃𑜫 (ขุน์)
คำกริยา[แก้ไข]
คน (คำอาการนาม การคน)
- กิริยาที่เอามือหรือสิ่งอื่นกวนเพื่อทำสิ่งที่นอนก้นหรือที่เกาะกันอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อนให้กระจายขยายตัว หรือกวนสิ่งต่าง ๆ ให้เข้ากัน
คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]
กวนให้เข้ากัน
อ้างอิง[แก้ไข]
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 3 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต, 2554. หน้า 29.