หัว

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: หวี, หิว, และ หิ้ว

ภาษาไทย[แก้ไข]

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์หัว
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงhǔua
ราชบัณฑิตยสภาhua
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/hua̯˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *truəᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉ᩠ᩅᩫ (หว็), ภาษาลาว ຫົວ (ห็ว), ภาษาไทลื้อ ᦷᦠ (โห), ภาษาไทดำ ꪬꪺ (หัว), ภาษาไทใหญ่ ႁူဝ် (หูว), ภาษาอาหม 𑜑𑜥 (หู), 𑜍𑜥 (รู) หรือ 𑜍𑜤𑜈𑜫 (รุว์) , ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง hue , vue (หัว,หวัว)


คำนาม[แก้ไข]

หัว

  1. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์
  2. ผม (ในบางบริบท)
  3. ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่างตอนที่อยู่ใต้ดิน
    หัวหอม
    หัวผักกาด
  4. ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน
  5. ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ
  6. ส่วนแห่งสิ่งของบางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่า หัวของสิ่งนั้น
    หัวเรือ
    หัวถนน
    หัวที
  7. ช่วงแรกเริ่มของเวลา
    หัวปี
    หัววัน
    หัวค่ำ
    หัวดึก
  8. ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด
    หัวฝี
  9. ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่นออกไป
    หัวแหลม
    หัวสะพาน
  10. ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย
  11. ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย
    หัวแถวหางแถว
    หัวเรือ
  12. ส่วนที่ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว
  13. ส่วนที่เป็นแก่นสาร
    หัวยา
    หัวเหล้า

คำพ้องความ[แก้ไข]

ดูที่ อรรถาภิธาน:หัว

คำเกี่ยวข้อง[แก้ไข]

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

หัว

  1. สติปัญญา, ความสามารถพิเศษ, ความคิดริเริ่ม
    เด็กคนนี้มีหัวทางดนตรี
  2. ผู้ที่มีความคิดหนักไปทางใดทางหนึ่ง
    หัวกฎหมาย
  3. ปัญญา, ความคิด
    หัวดี
    หัวไว

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *krɯəwᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน หัว, ภาษาลาว ຫົວ (ห็ว), ภาษาไทลื้อ ᦷᦃ (โฃ), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง vue,hue (หัว,หวัว)

คำกริยา[แก้ไข]

หัว (คำอาการนาม การหัว)

  1. (โบราณ) หัวเราะ
คำพ้องความ[แก้ไข]
ดูที่ อรรถาภิธาน:หัวเราะ

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

หัว

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᩉ᩠ᩅᩫ (หว็)

ภาษาอีสาน[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

หัว (คำอาการนาม การหัว)

  1. หัวเราะ