ตอน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ต.อ.น. และ ต้อน

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ตอน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงdtɔɔn
ราชบัณฑิตยสภาton
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tɔːn˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຕອນ (ตอน), ภาษาไทลื้อ ᦎᦸᧃ (ตอ̂น), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง donq, ภาษาจ้วง donq; เทียบภาษาจีนเก่า (OC *doːns)

คำนาม[แก้ไข]

ตอน

  1. ส่วนหนึ่งที่แบ่งออกจากส่วนใหญ่ (ใช้แก่สิ่งที่มีความยาว)
    ถนนวิภาวดีรังสิตตอนที่ผ่านดอนเมืองรถติดมาก
    โขนแสดงตอนหนุมานเผาลงกา
    ขอให้มาตอนเช้า
    ตอนเหนือของประเทศไทย

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຕອນ (ตอน)

คำกริยา[แก้ไข]

ตอน (คำอาการนาม การตอน)

  1. ขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง โดยการใช้มีดควั่นกิ่งและเลาะเปลือกออกแล้วเอาดินพอก ใช้ใบตองหรือกาบมะพร้าวหุ้ม มัดหัวท้ายไว้ เมื่อรากงอกดีแล้ว ตัดกิ่งออกจากต้นนำไปปลูก

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *toːnᴬ; เทียบภาษาจีน (dūn); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຕອນ (ตอน), ภาษาไทลื้อ ᦎᦸᧃ (ตอ̂น), ภาษาไทใหญ่ တွၼ် (ตอ̂น)

คำกริยา[แก้ไข]

ตอน (คำอาการนาม การตอน)

  1. ตัดหรือทำลายอวัยวะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสืบพันธุ์ของเพศผู้ เพื่อไม่ให้สืบพันธุ์ได้

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

ตอน

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨴᩬᩁ (ทอร)

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

ตอน (คำอาการนาม กำตอน or ความตอน)

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨴᩬᩁ (ทอร)