บน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์บน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงbon
ราชบัณฑิตยสภาbon
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/bon˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ɓɯnᴬ (ฟ้า, สวรรค์); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨷᩫ᩠ᨶ (บ็น), ภาษาลาว ບົນ (บ็น), ภาษาไทลื้อ ᦥᦳᧃ (บุ̱น) หรือ ᦢᦳᧃ (บุน), ภาษาไทใหญ่ ဝူၼ် (วูน) หรือ မူၼ် (มูน), ภาษาจ้วง mbwn, ภาษาปู้อี mbenl, ภาษาแสก บึ๋น

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

บน

  1. เบื้องสูง, ตรงข้ามกับ เบื้องล่าง
    ข้างบน
    ชั้นบน
    เบื้องบน

คำบุพบท[แก้ไข]

บน

  1. ในที่ซึ่งอยู่สูงหรือเหนือ
    นั่งอยู่บนเรือน
    วางมือบนหนังสือ
    มีหนังสือวางอยู่บนโต๊ะ
คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาเขมร បន់ (บน̍)

คำกริยา[แก้ไข]

บน (คำอาการนาม การบน)

  1. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คำมั่นว่าจะให้สิ่งของตอบแทนหรือทำตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสำเร็จ, บนบาน ก็ว่า

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

บน

  1. คำ
    ให้บนถ้อยคำ
    (จินดามณี)
  2. คำที่จดไว้เป็นหลักฐาน, คำให้การที่จดไว้เป็นหลักฐาน
    ถ้าถามหมีรับให้คาดบนไว้อย่าให้เอาเงีน
    (สามดวง)