ข้ามไปเนื้อหา

วรรณยุกต์

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย

[แก้ไข]
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

รากศัพท์

[แก้ไข]

วรรณ +‎ ยุกต์

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์
{เสียงพยัญชนะซ้ำ}
วัน-นะ-ยุก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงwan-ná-yúk
ราชบัณฑิตยสภาwan-na-yuk
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/wan˧.na˦˥.juk̚˦˥/(สัมผัส)

คำนาม

[แก้ไข]

วรรณยุกต์ (คำลักษณนาม เสียง หรือ รูป หรือ ตัว)

  1. (สัทศาสตร์) ระดับเสียงสูงต่ำที่ปรากฏในภาษาต่าง ๆ และทำให้คำมีความหมายแตกต่างกัน
  2. เครื่องหมายหรือตัวอักษรที่ใช้แสดงเสียงเช่นนั้น

การใช้

[แก้ไข]

วรรณยุกต์ในภาษาไทย มี 5 เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา มีรูปเครื่องหมายบอกระดับของเสียงอยู่เบื้องบนอักษร 4 รูป คือ ◌่ (ไม้เอก) ◌้ (ไม้โท) ◌๊ (ไม้ตรี) ◌๋ (ไม้จัตวา) จากหลักการผันวรรณยุกต์ของไตรยางศ์ เสียงกับรูปอาจไม่ตรงกันก็ได้

คำพ้องความ

[แก้ไข]

คำแปลภาษาอื่น

[แก้ไข]