วอน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์วอน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงwɔɔn
ราชบัณฑิตยสภาwon
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/wɔːn˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายภาษาอีสาน วอน, ภาษาลาว ວອນ (วอน), ภาษาคำเมือง ᩅᩬᩁ (วอร), ภาษาเขิน ᩅᩬᩁ (วอร), ภาษาไทลื้อ ᦞᦸᧃ (วอ̂น), ภาษาไทใหญ่ ဝွၼ်း (ว๊อ̂น)

คำกริยา[แก้ไข]

วอน (คำอาการนาม การวอน)

  1. (ภาษาปาก) รนหาที่
    วอนตาย
  2. ร่ำขอ, ขอด้วยอาการออด, เฝ้าร้องขอให้ทำตามประสงค์
    คำนึงนุชนาฎเนื้อ นวลสมร แม้นแม่มาจักวอน พี่ชี้
    (ตะเลงพ่าย)

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ยืมโดยเรียนรู้จากภาษาเกาหลี (won)

คำวิสามานยนาม[แก้ไข]

วอน

  1. สกุลเงินของประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ สัญลักษณ์ว่า