ข้ามไปเนื้อหา

สั่ง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย

[แก้ไข]

รูปแบบอื่น

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์สั่ง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsàng
ราชบัณฑิตยสภาsang
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/saŋ˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

สืบทอดจากไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *saŋᴮ¹, จากไทดั้งเดิม *saŋᴮ (บอกให้ทำ); ร่วมเชื้อสายกับคำเมือง ᩈᩢ᩠᩵ᨦ (สั่ง), เขิน ᩈᩢ᩠᩵ᨦ (สั่ง), ลาว ສັ່ງ (สั่ง), ไทลื้อ ᦉᧂᧈ (สั่ง), ไทดำ ꪎꪰ꪿ꪉ (สั่ง), ไทใหญ่ သင်ႇ (สั่ง), ไทใต้คง ᥔᥒᥱ (สั่ง), พ่าเก ꩬင် (สง์), อาหม 𑜏𑜂𑜫 (สง์), จ้วง saengq หรือ daengq

คำกริยา

[แก้ไข]

สั่ง (คำอาการนาม การสั่ง)

  1. บอกไว้เพื่อให้ทำหรือให้ปฏิบัติเป็นต้น
    ครูสั่งให้นักเรียนทำการบ้าน
    แม่สั่งให้ถูบ้าน
  2. บอกไว้อาลัยในการที่จะจากไป
    ฝนสั่งฟ้า
    ทศกัณฐ์สั่งเมือง
    อิเหนาสั่งถ้ำ
    สิ้นเสียงก็สิ้นสั่ง
    ตายไม่ทันสั่ง
คำสืบทอด
[แก้ไข]
  • เขมรเหนือ: ซัง

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

สืบทอดจากไทดั้งเดิม *saŋᴮ (ทำให้ลมดันน้ำมูก); ร่วมเชื้อสายกับคำเมือง ᩈᩢ᩠᩵ᨦ (สั่ง), เขิน ᩈᩢ᩠᩵ᨦ (สั่ง), ลาว ສັ່ງ (สั่ง), ไทใหญ่ သင်ႇ (สั่ง), ไทใต้คง ᥔᥒᥱ (สั่ง), จ้วง saengq (ในคำว่า saengq mug); เทียบกวางตุ้ง (sang3)

คำกริยา

[แก้ไข]

สั่ง (คำอาการนาม การสั่ง)

  1. ทำให้ลมดันน้ำมูกออกจากจมูกโดยแรง
    สั่งน้ำมูก

ภาษาคำเมือง

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]

คำกริยา

[แก้ไข]

สั่ง (คำอาการนาม ก๋ารสั่ง หรือ ก๋านสั่ง)

  1. (สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᩈᩢ᩠᩵ᨦ (สั่ง)