แรง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: แร้ง

ภาษาไทย[แก้ไข]

วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *reːŋᴬ (แข็งแรง; ความแข็งแรง); ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน แฮง, ภาษาลาว ແຮງ (แฮง), ภาษาคำเมือง ᩁᩯ᩠ᨦ (แรง), ภาษาเขิน ᩁᩯ᩠ᨦ (แรง), ภาษาไทลื้อ ᦶᦣᧂ (แฮง), ภาษาไทดำ ꪵꪭꪉ (แฮง), ภาษาไทใหญ่ ႁႅင်း (แห๊ง), ภาษาอาหม 𑜍𑜢𑜂𑜫 (ริง์), ภาษาปู้อี reengz, ภาษาจ้วง rengz, ภาษาแสก เร๊ง

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์แรง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงrɛɛng
ราชบัณฑิตยสภาraeng
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/rɛːŋ˧/(สัมผัส)

คำนาม[แก้ไข]

แรง

  1. กำลัง
    แรงคน
    ไม่มีแรง
    มีแรงมาก
    ออกแรง
  2. อำนาจ
    แรงเจ้าที่
    แรงกรรม
  3. (วิทยาศาสตร์) อิทธิพลภายนอกใดที่เปลี่ยนแปลงหรือพยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะอยู่นิ่งหรือสถานะการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุ ด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอในแนวเส้นตรง
  4. อัตราการทำงาน กำหนดเป็นกำลังคนต่อช่วงเวลาหนึ่ง
    งานนี้ต้องใช้ 10 แรง

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

แรง (คำอาการนาม ความแรง)

  1. ฉุน, จัด, กล้า
    กลิ่นแรง
  2. แข็ง, มีกำลัง
  3. ศักดิ์สิทธิ์
    ที่นี่เจ้าที่แรง

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

แรง (คำอาการนาม ความแรง)

  1. ใช้กำลังกระทำถึงขีด
    อย่าทำแรง
    ตีแรง ๆ

คำกริยา[แก้ไข]

แรง

  1. ออกแรง
  2. หมกมุ่น
    แรงเสพ
    แรงเล่น

ภาษาแสก[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

แรง

  1. แร้ง