ส่ง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *soŋᴮ¹; เทียบภาษาจีนยุคกลาง (MC suwngH); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ສົ່ງ (ส็่ง), ภาษาคำเมือง ᩈᩫ᩠᩵ᨦ (ส็่ง), ภาษาเขิน ᩈᩫ᩠᩵ᨦ (ส็่ง), ภาษาไทลื้อ ᦉᦳᧂᧈ (สุ่ง), ภาษาไทดำ ꪶꪎ꪿ꪉ (โส่ง), ภาษาไทใหญ่ သူင်ႇ (สู่ง), ภาษาไทใต้คง ᥔᥨᥒᥱ (โส่ง), ภาษาอาหม 𑜏𑜤𑜂𑜫 (สุง์)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ส่ง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsòng
ราชบัณฑิตยสภาsong
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/soŋ˨˩/(สัมผัส)

คำกริยา[แก้ไข]

ส่ง (คำอาการนาม การส่ง)

  1. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนพ้นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อให้ถึงผู้รับหรือเป้าหมายด้วยอาการต่างกัน
    ส่งข้าม
    ส่งผ่าน
    ส่งต่อ
  2. หนุน ดัน หรือเสริมให้สูงขึ้น
    คนอยู่ข้างล่างช่วยส่งก้นคนข้างบนให้ปีนพ้นกำแพง
    ติดไม้ปั้นลมส่งหลังคาเรือน
  3. แสดงอัธยาศัยในเมื่อมีผู้จะจากไป
    ไปส่ง
    เลี้ยงส่ง
  4. อาการที่ส่งเครื่องหมาย ข้อความข่าวสาร หรือภาพ เป็นต้นไปให้อีกฝ่ายหนึ่งโดยอาศัยกรรมวิธีต่าง ๆ
    ส่งสัญญาณ
    ส่งรหัส
    ส่งโทรเลข
    ส่งวิทยุ
    ส่งโทรภาพ

คำนาม[แก้ไข]

ส่ง

  1. การบรรเลงหรือขับร้องเมื่อจบท่อนหรือจบเพลง แล้วมีการทอดเสียงส่งต่อให้มีการปฏิบัติต่อไปอีก
    ร้องส่ง
    ร้องจบส่งให้ดนตรีรับ
    ส่งรำ
    ดนตรีบรรเลงจบแล้วทอดเสียงให้ผู้รำรำ