ข้ามไปเนื้อหา

เหลา

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: เหล่า และ เหล้า

ภาษาไทย

[แก้ไข]

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ʰlawᴬ¹; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເຫຼົາ (เหล็า), ภาษาไทลื้อ ᦜᧁ (หฺเลา), ภาษาไทใหญ่ လဝ် (ลว), ภาษาแสก เหล่า, ภาษาจ้วง laeu(เหลา)

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์เหฺลา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlǎo
ราชบัณฑิตยสภาlao
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/law˩˩˦/(สัมผัส)

คำกริยา

[แก้ไข]

เหลา (คำอาการนาม การเหลา)

  1. ทำให้เกลี้ยงเกลาหรือให้แหลมด้วยเครื่องมือมีมีดเป็นต้น
    เหลาตอก
    เหลาดินสอ

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

จากภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาจีน (lóu, อาคาร)

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์เหฺลา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlǎo
ราชบัณฑิตยสภาlao
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/law˩˩˦/(สัมผัส)

คำนาม

[แก้ไข]

เหลา

  1. (ภาษาปาก) ภัตตาคาร, มักหมายถึงภัตตาคารจีนที่หรูหรา

รากศัพท์ 3

[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาสันสกฤต हेला (เหลา)

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์เห-ลา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงhěe-laa
ราชบัณฑิตยสภาhe-la
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/heː˩˩˦.laː˧/(สัมผัส)

คำนาม

[แก้ไข]

เหลา

  1. ความหมิ่น
  2. ความสนุก
  3. การเล่น, การกีฬา
  4. การหยอกเอิน
  5. ความสะดวกสบาย