อ้า

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: อา, อา., อำ, อ่า, และ อ๋า

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์อ้า
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงâa
ราชบัณฑิตยสภาa
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ʔaː˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ʔaːꟲ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทใหญ่ ဢႃႈ (อ้า), ภาษาจ้วง aj

คำกริยา[แก้ไข]

อ้า (คำอาการนาม การอ้า)

  1. เปิด, แยกออก, แบะออก
    ปากอ้า
  2. ทำให้เปิด, ทำให้แยกออก, ทำให้แบะออก
    อ้าปาก

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

รากศัพท์นี้ขาดหายหรือไม่สมบูรณ์ กรุณาช่วยเพิ่มเติม หรืออภิปรายที่หน้าพูดคุย

คำอนุภาค[แก้ไข]

อ้า

  1. คำออกเสียงขึ้นต้นประโยคในคำประพันธ์ ใช้ในความรำพึงหรือพรรณนาวิงวอนอย่างเดียวกับคำ โอ้ หรือ โอ้ว่า
    อ้าองค์สุริย์ศรีมีธรรมส่อง ปกครองอย่างทรงพระเมตตา
    อ้าองค์พระพุทธา ตัวข้าบุษบาขอกราบวิงวอน

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

อ้า (คำอาการนาม ก๋ารอ้า หรือ ก๋านอ้า)

  1. (สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᩋ᩶ᩣ (อ้า)