ฉาย

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ฉาย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงchǎai
ราชบัณฑิตยสภาchai
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕʰaːj˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาสันสกฤต छाया (ฉายา, ร่มเงา, เงาสะท้อน), จากภาษาบาลี ฉายา (ร่มเงา, เงาสะท้อน)

คำนาม[แก้ไข]

ฉาย

  1. เงา, ที่ร่ม
  2. กระจกส่องหน้า
การใช้[แก้ไข]

(2) ราชาศัพท์ว่า พระฉาย

ดูเพิ่ม[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

ฉาย (คำอาการนาม การฉาย)

  1. ส่องแสงออกไป
  2. (ภาษาปาก, สแลง) กรายให้เห็น
    หล่อนฉายไปฉายมาทั้งวัน
  3. (ภาษาปาก, สแลง) เที่ยวไป, เตร็ดเตร่ไป
    วัน ๆ เอาแต่ฉายไปฉายมา ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย
  4. (ภาษาปาก, สแลง) ปรากฏตัวไปทั่ว
    วันนี้แต่งตัวซะสวย จะไปฉายที่ไหน

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาเขมร ឆាយ (ฉาย, เกลี่ย, กระจาย)

คำกริยา[แก้ไข]

ฉาย (คำอาการนาม การฉาย)

  1. เกลี่ยให้เสมอ, กระจายให้เสมอ
    ฉายดิน