สบ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับ ภาษาจ้วง soep (สบ-พบ เจอ), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง roep,soep (รบ สบ-พบ เจอ)

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาเขมร សព្វ (สพฺว, ถูกต้อง; ทั้งหมด), จากภาษาบาลี สพฺพ (ทั้งหมด)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์สบ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsòp
ราชบัณฑิตยสภาsop
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sop̚˨˩/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงศพ

คำกริยา[แก้ไข]

สบ (คำอาการนาม การสบ)

  1. พบ, ปะ
    สบโชค
    สบตา
    สบเหมาะ
    ฟันบนสบฟันล่าง
  2. ถูก, ต้อง
    สบใจ
    สบปาก
    สบอารมณ์

คำนาม[แก้ไข]

สบ

  1. บริเวณที่แม่น้ำตั้งแต่ 2 สายขึ้นไปมาบรรจบกัน
    สามสบ
    สบเมย

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

สบ

  1. ทุก ๆ, เสมอ
    สบไถง
    ทุกวัน
    สบสมัย
    ทุกสมัย

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์สอ-บอ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsɔ̌ɔ-bɔɔ
ราชบัณฑิตยสภาso-bo
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sɔː˩˩˦.bɔː˧/(สัมผัส)

คำวิสามานยนาม[แก้ไข]

สบ

  1. อักษรย่อของ สระบุรี

ภาษาอีสาน[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩈᩫ᩠ᨷ (ส็บ), ภาษาลาว ສົບ (ส็บ), ภาษาไทลื้อ ᦷᦉᧇ (โสบ), ภาษาไทใหญ่ သူပ်း (สู๊ป), ภาษาไทใต้คง ᥔᥨᥙᥱ (โส่ป), ภาษาอาหม 𑜏𑜤𑜆𑜫 (สุป์)

คำนาม[แก้ไข]

สบ

  1. ปาก