ข้ามไปเนื้อหา

ท้าว

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ทาว และ ท่าว

ภาษาไทย

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ท้าว
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtáao
ราชบัณฑิตยสภาthao
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰaːw˦˥/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงเท้า

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ທ້າວ (ท้าว), ภาษาไทลื้อ ᦑᦱᧁᧉ (ท้าว), ภาษาพ่าเก တွ် (เตา), ภาษาเขมร ទាវ (ทาว), ภาษามอญ ဒဴ (เทา)

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ (2546) เสนอว่ามาจากภาษาจีน (ย่อมาจาก 道士 “นักบวชเต๋า”)[1]; เทียบภาษาเวียดนาม đạo sĩ (นักบวชเต๋า), đạo, tạo, phìa tạo (ผู้ปกครองชาวไท), ภาษาตั่ย tạo (นักบวชคล้ายกับนักบวชเต๋า).[2]

คำนาม

[แก้ไข]

ท้าว

  1. ผู้เป็นใหญ่, พระเจ้าแผ่นดิน (โดยมากใช้ในบทกลอน)
    ท้าวยศวิมล
  2. ตำแหน่งหญิงอาวุโส ซึ่งเป็นเจ้าจอม เจ้าจอมมารดาในรัชกาลก่อนหรือหญิงราชนิกุลซึ่งพระเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้าฯ ตั้งไว้ในตำแหน่งสำหรับดูแลราชกิจฝ่ายในพระราชวัง, ภาษาปากว่า คุณท้าว นางท้าว
    ท้าวทรงกันดาล
    ท้าวสมศักดิ์

อ้างอิง

[แก้ไข]
  1. วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ (2546), ร่องรอยความเชื่อ "เต๋า" ใน "ภาษาไท-ไทย", วารสารภาษาและภาษาศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 2
  2. Holm, David (2019), "Literate Shamanism: The Priests Called Then among the Tày in Guangxi and Northern Vietnam", in Religions 10(1):64. Retrieved from [1]

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

คำกริยาวิเศษณ์

[แก้ไข]

ท้าว

  1. อาการสั่นรัว
    ความกลัวตัวสั่นอยู่ท้าวท้าว
    (สังข์ทอง)

ภาษาอีสาน

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

ท้าว

  1. คำประกอบชื่อผู้ชายที่เป็นเชื้อสายเจ้าหรือขุนนาง