ข้ามไปเนื้อหา

อัน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย

[แก้ไข]

รูปแบบอื่น

[แก้ไข]

รากศัพท์

[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ʔalᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ອັນ (อัน), ภาษาคำเมือง ᩋᩢ᩠ᨶ (อัน), ภาษาไทลื้อ ᦀᧃ (อัน), ภาษาไทดำ ꪮꪽ (อัน), ภาษาไทใหญ่ ဢၼ် (อัน), ภาษาอาหม 𑜒𑜃𑜫 (อน์), ภาษาจ้วง aen

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์อัน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงan
ราชบัณฑิตยสภาan
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ʔan˧/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงอันต์

คำนาม

[แก้ไข]

อัน

  1. สิ่ง, ชิ้น
  2. ทะลาย
    อันหมาก
    อันมะพร้าว
  3. คำบอกลักษณะสิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น

คำลักษณนาม

[แก้ไข]

อัน

  1. ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น
    ไม้อันหนึ่ง
    ไม้ 2 อัน
  2. เวลากำหนดสำหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ

คำสรรพนาม

[แก้ไข]

อัน

  1. คำใช้แทนนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า
    ความจริงอันปรากฏขึ้นมา

คำกริยาวิเศษณ์

[แก้ไข]

อัน

  1. อย่าง
    เป็นอันมาก
    เป็นอันดี

คำอนุภาค

[แก้ไข]

อัน

  1. ใช้เป็นคำกำกับนามที่เป็นประธาน หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ, ใช้ว่า อันว่า ก็มี
    อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี
    (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ฉบับเก่า)

ภาษาคำเมือง

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

อัน

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᩋᩢ᩠ᨶ (อัน)