ข้ามไปเนื้อหา

สัก

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ส.ก., สก, สกี, สึก, สุก, และ สุกี้

ภาษาไทย

[แก้ไข]
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia
สัก (1)

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์สัก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsàk
ราชบัณฑิตยสภาsak
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sak̚˨˩/(สัมผัส)
คำพ้องเสียง

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับ ภาษาจ้วง maex saeg (ไม้สัก, ต้นสัก)

คำนาม

[แก้ไข]

สัก

  1. ชื่อไม้ต้นชนิด Tectona grandis L.f. ในวงศ์ Labiatae เนื้อไม้แข็งและคงทน เหมาะแก่การสร้างบ้านและทำเครื่องเรือน ใบและเนื้อไม้ใช้ทำยาได้
ลูกคำ
[แก้ไข]

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

คำกริยา

[แก้ไข]

สัก (คำอาการนาม การสัก)

  1. ทำให้ตึง, ทำให้แน่น
    สักว่าว
    สักที่นอน
ลูกคำ
[แก้ไข]

รากศัพท์ 3

[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาจ้วง caeg (ชัก, ปัก, แทง, สัก)

คำกริยา

[แก้ไข]

สัก (คำอาการนาม การสัก)

  1. เอาของแหลมแทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน
    สักปลาไหล
    สักหาของในน้ำ
    สักรอยช้ำเพื่อรีดเอาเลือดที่คั่งออก
  2. ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมายหรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึก เรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้น้ำมัน เรียกว่า สักน้ำมัน
  3. (โบราณ) ทำเครื่องหมายโดยใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกจิ้มที่ผิวหนังเพื่อแสดงเป็นหลักฐานบนร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือเป็นเลกมีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็นผู้ที่ต้องโทษปาราชิกเป็นต้น
ลูกคำ
[แก้ไข]

รากศัพท์ 4

[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทดำ ꪎꪰꪀ (สัก), ภาษาจ้วง saek (ซัก, สักวัน)

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์สักซัก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsàksák
ราชบัณฑิตยสภาsaksak
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sak̚˨˩/(สัมผัส)/sak̚˦˥/(สัมผัส)
คำพ้องเสียง

คำกริยาวิเศษณ์

[แก้ไข]

สัก

  1. อย่างน้อย, เพียง, ราว
    ขอเวลาสัก 2 วัน
ลูกคำ
[แก้ไข]