ข้ามไปเนื้อหา

กรม

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์กฺรม
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงgrom
ราชบัณฑิตยสภาkrom
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/krom˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาเขมร ក្រំ (กฺรํ, ลำบาก)

คำกริยา

[แก้ไข]

กรม

  1. ระทม, เจ็บอยู่ภายในเรื่อยไป
    กรมใจ
  2. กลัด
    กรมหนอง
คำพ้องความ
[แก้ไข]
ลูกคำ
[แก้ไข]

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาสันสกฤต क्रम (กฺรม, ลำดับ)

คำนาม

[แก้ไข]

กรม

  1. (ภาษาหนังสือ) ลำดับ
    จะเล่นโดยกรม
    (สมุทรโฆษ)

ลูกคำ

[แก้ไข]

รากศัพท์ 3

[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาเขมร ក្រុម (กฺรุม, หมวด, หมู่, กอง); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ກົມ (ก็ม)

คำนาม

[แก้ไข]

กรม (คำลักษณนาม กรม)

  1. (โบราณ) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณเพื่อประโยชน์ในราชการและเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที
  2. (โบราณ) แผนกใหญ่ในราชการตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง
  3. (กฎหมาย) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ในระดับรองจากกระทรวงและทบวง ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
  4. (กฎหมาย) หน่วยงานของฝ่ายทหาร
ลูกคำ
[แก้ไข]

รากศัพท์ 4

[แก้ไข]

ตัดทอนจาก กรมธรรม์

คำนาม

[แก้ไข]

กรม

  1. (โบราณ) กรมธรรม์

รากศัพท์ 5

[แก้ไข]

แผลงมาจาก กรรม

คำนาม

[แก้ไข]

กรม

  1. (โบราณ, ร้อยกรอง) กรรม
    อวยสรรพเพียญชนพิธีกรมเสร็จกำนนถวาย
    (ดุษฎีสังเวย)

รากศัพท์ 6

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

กรม

  1. เหมือดโลด