ข้ามไปเนื้อหา

ค่อย

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: คอย และ ค้อย

ภาษาไทย

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์
{ไม่ตามอักขรวิธี; เสียงสระสั้น}
ค็่อย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงkɔ̂i
ราชบัณฑิตยสภาkhoi
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kʰɔj˥˩/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงข้อย

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

คำกริยาวิเศษณ์

[แก้ไข]

ค่อย (คำอาการนาม ความค่อย)

  1. ใช้ประกอบหลังนามหรือกริยา หมายความว่า ไม่ดัง, เบา
    เสียงค่อย
    พูดค่อย
    เดินค่อย ๆ อย่าลงส้น
  2. ไม่แรง, เบามือ
    นวดค่อย ๆ
    จับค่อย ๆ

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *gɔːjᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຄ່ອຍ (ค่อย), ภาษาไทใหญ่ ၵွႆႈ (ก้อ̂ย), ภาษาจ้วงใต้ koih (ค่อย)

คำกริยาวิเศษณ์

[แก้ไข]

ค่อย (คำอาการนาม ความค่อย)

  1. ใช้นำหน้ากริยาหมายความว่า ไม่รีบร้อน, อย่างระมัดระวัง, ช้า
    ค่อยคิด
    ค่อยทำ
    ค่อย ๆ เดิน

รากศัพท์ 3

[แก้ไข]

คำกริยาวิเศษณ์

[แก้ไข]

ค่อย (คำอาการนาม ความค่อย)

  1. คำนำหน้าความข้างท้ายให้ติดต่อกับความข้างหน้า แสดงกิริยาที่กระทำภายหลัง, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ค่อย หมายความว่า น้อย, บ้าง
    กินข้าวแล้วค่อยไป
    ไม่ค่อยมี
    ไม่ค่อยพูด