สอง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ส่อง และ ส้อง

ภาษาไทย[แก้ไข]

จำนวนเชิงการนับภาษาไทย
 <  ๑ ๓  > 
    เชิงการนับ : สอง
    เชิงอันดับที่ : ที่สอง
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia
คนสองคน

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

รากศัพท์[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *sɔːŋᴬ¹ (Jonsson, 1991), จากภาษาไทดั้งเดิม *soːŋᴬ, จากภาษาจีนยุคกลาง (MC sraewng); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩈᩬᨦ (สอง), ภาษาลาว ສອງ (สอง), ภาษาไทลื้อ ᦉᦸᧂ (สอ̂ง), ภาษาไทดำ ꪎꪮꪉ (สอง), ภาษาไทขาว ꪎꪮꪉ, ภาษาไทแดง ꪎꪮꪉ, ภาษาไทใหญ่ သွင် (สอ̂ง), ภาษาไทใต้คง ᥔᥩᥒᥴ (ส๋อ̂ง), ภาษาไทแหล่ง ꩬွꩼင်, ภาษาคำตี้ ꩬွင်, ภาษาอ่ายตน ꩬွင် (สอ̂ง์), ภาษาพ่าเก ꩬွင် (สอ̂ง์), ภาษาอาหม 𑜏𑜨𑜂𑜫 (สอ̂ง์), ภาษาปู้อี soongl, ภาษาจ้วง song, ภาษาตั่ย sloong

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์สอง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsɔ̌ɔng
ราชบัณฑิตยสภาsong
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sɔːŋ˩˩˦/(สัมผัส)

เลข[แก้ไข]

สอง

  1. จำนวนหนึ่งบวกหนึ่ง, จำนวนจุดที่มีในนี้ (••)

คำพ้องความ[แก้ไข]

ดูที่ อรรถาภิธาน:สอง

คำนาม[แก้ไข]

สอง

  1. เดือน 2 ทางจันทรคติเรียกว่า เดือนยี่ ตกในราวเดือนมกราคม

คำวิสามานยนาม[แก้ไข]

สอง

  1. ชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดแพร่

คำแปลภาษาอื่น[แก้ไข]

ดูเพิ่ม[แก้ไข]