เวร

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เวน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงween
ราชบัณฑิตยสภาwen
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/weːn˧/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงเวน

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาบาลี เวร; เทียบภาษาสันสกฤต वैर (ไวร)

คำนาม[แก้ไข]

เวร

  1. ความพยาบาท, ความปองร้าย, บาป
    เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
  2. (ภาษาปาก, สแลง, หยาบคาย) คนหรือสิ่งที่ก่อความเดือดร้อนวุ่นวาย
    ไอ้เด็กเวร

คำอุทาน[แก้ไข]

เวร

  1. (ภาษาปาก, สแลง) คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต, กรรมเวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า
    เวรของฉันแท้ ๆ ทำเงินเดือนหายไปทั้งเดือน

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

เวร

  1. รอบผลัดในหน้าที่การงาน
    วันนี้เวรฉันทำความสะอาดห้อง

อ้างอิง[แก้ไข]