ข้ามไปเนื้อหา

ซื่อ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ซอ, ซอฺ, ซือ, ซือ-, ซื้อ, และ ซ้อ

ภาษาไทย

[แก้ไข]

รากศัพท์

[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *zɤːᴮ (ตรง); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨪᩨ᩵ (ซื่), ภาษาเขิน ᨪᩨ᩵ (ซื่), ภาษาอีสาน ซื่อ หรือ ซือ, ภาษาลาว ຊື່ (ซื่), ภาษาไทลื้อ ᦌᦹᧈ (ซื่), ภาษาไทดำ ꪏꪳ꪿ (ซึ่), ภาษาไทขาว ꪏꪳꫀ, ภาษาไทใหญ่ သိုဝ်ႈ (สึ้ว), ภาษาไทใต้คง ᥔᥪ (สื), ภาษาพ่าเก ꩬိုဝ် (สึว์), ภาษาอาหม 𑜏𑜢𑜤𑜈𑜫 (สึว์), ภาษาจ้วง soh, ภาษาจ้วงแบบหนง swh

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ซื่อ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsʉ̂ʉ
ราชบัณฑิตยสภาsue
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sɯː˥˩/(สัมผัส)

คำคุณศัพท์

[แก้ไข]

ซื่อ (คำอาการนาม ความซื่อ)

  1. ตรง
    คนซื่อ
  2. ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม, ทื่อ ก็ว่า
    พูดซื่อ ๆ
  3. ไม่คดโกง
    หน้าซื่อ
  4. นิ่งเฉยอยู่ไม่กระดุกกระดิกเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต, ทื่อ ก็ว่า
    แข็งซื่อ

คำแปลภาษาอื่น

[แก้ไข]

ภาษาอีสาน

[แก้ไข]

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ɟɤːᴮ, จากภาษาจีนยุคกลาง (MC dziH); ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทย ชื่อ, ภาษาคำเมือง ᨩᩨ᩵ (ชื่), ภาษาลาว ຊື່ (ซื่), ภาษาไทลื้อ ᦋᦹᧈ (ชื่), ภาษาไทใหญ่ ၸိုဝ်ႈ (จึ้ว), ภาษาอาหม 𑜋𑜢𑜤𑜈𑜫 (ฉึว์) หรือ 𑜋𑜥 (ฉู)

คำนาม

[แก้ไข]

ซื่อ

  1. ชื่อ

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *zɤːᴮ (ตรง) ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทย ซื่อ, ภาษาคำเมือง ᨪᩨ᩵ (ซื่), ภาษาเขิน ᨪᩨ᩵ (ซื่), ภาษาลาว ຊື່ (ซื่), ภาษาไทลื้อ ᦌᦹᧈ (ซื่), ภาษาไทดำ ꪏꪳ꪿ (ซึ่), ภาษาไทใหญ่ သိုဝ်ႈ (สึ้ว), ภาษาไทใต้คง ᥔᥪ (สื), ภาษาอาหม 𑜏𑜢𑜤𑜈𑜫 (สึว์), ภาษาจ้วง soh, ภาษาจ้วงแบบหนง swh

รูปแบบอื่น

[แก้ไข]

คำคุณศัพท์

[แก้ไข]

ซื่อ (คำอาการนาม ความซื่อ)

  1. ซื่อ
  2. ตรง