จ่อม

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: จอม และ จ็อม

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์
{ไม่ตามอักขรวิธี; เสียงสระสั้น}
จ็่อม
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงjɔ̀m
ราชบัณฑิตยสภาchom
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕɔm˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

จ่อม

  1. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาหรือกุ้งตัวเล็กหมักเกลือไว้ระยะหนึ่ง แล้วใส่ข้าวสารคั่วป่น ทำด้วยปลาเรียกว่า ปลาจ่อม ทำด้วยกุ้งเรียกว่า กุ้งจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

เป็นไปได้ว่าเกี่ยวข้องกับ จุ่ม, จุ้ม, และ จิ้ม; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน จ่อม, ภาษาลาว ຈ່ອມ (จ่อม), ภาษาคำเมือง ᨧᩬ᩵ᨾ (จอ่ม), ภาษาเขิน ᨧᩬ᩵ᨾ (จอ่ม), ภาษาไทลื้อ ᦈᦸᧄᧈ (จ่อ̂ม), ภาษาไทใหญ่ ၸွမ်ႇ (จ่อ̂ม); เทียบภาษาจีนยุคกลาง (MC tsreamH)

คำกริยา[แก้ไข]

จ่อม (คำอาการนาม การจ่อม)

  1. หย่อนลง, วางลง
    เอาเบ็ดไปจ่อม
    จ่อมก้นไม่ลง
  2. จุ่มลง, จม
    ปวงเทพเจ้าตกจม จ่อมม้วย
    (โคลงตำนานศรีปราชญ์)
  3. จอด
    ใจจ่อมเจ้า
  4. ฟุบ, หมอบ, (ใช้แก่สัตว์ เช่น โค กระบือ)