ฎีกา

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

รากศัพท์[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาบาลี ฏีกา, จากภาษาเขมร ដីកា (ฎีกา)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์ดี-กา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงdii-gaa
ราชบัณฑิตยสภาdi-ka
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/diː˧.kaː˧/(สัมผัส)

คำนาม[แก้ไข]

ฎีกา

  1. คำอธิบายขยายความ
    ฎีกาพาหุง
  2. ชื่อคัมภีร์หนังสือที่แก้หรืออธิบายคัมภีร์อรรถกถา
  3. หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์
  4. ใบแจ้งการขอเบิกเงินจากคลัง
  5. ใบบอกบุญเรี่ยไร
  6. (กฎหมาย) คำร้องทุกข์ที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์
  7. (กฎหมาย) ชื่อศาลยุติธรรมสูงสุดของประเทศไทย ซึ่งเรียกว่า ศาลฎีกา
  8. (กฎหมาย) การคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ เพื่อเสนอให้ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาหรือวินิจฉัยชี้ขาด
  9. (โบราณ) ใบเรียกเก็บเงิน

คำกริยา[แก้ไข]

ฎีกา

  1. (ภาษาปาก) ยื่นคำร้องขอหรือคำคัดค้านต่อศาลฎีกา
    คดีนี้จะฎีกาหรือไม่