ข้ามไปเนื้อหา

ดิ้น

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ดิ้น
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงdîn
ราชบัณฑิตยสภาdin
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/din˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨯᩥ᩠᩶ᨶ (ดิ้น), ภาษาลาว ດີ້ນ (ดี้น) หรือ ດິ້ນ (ดิ้น), ภาษาไทลื้อ ᦡᦲᧃᧉ (ดี้น), ภาษาไทใหญ่ လိၼ်ႈ (ลิ้น)

คำกริยา

[แก้ไข]

ดิ้น (คำอาการนาม การดิ้น)

  1. อาการที่สะบัดหรือฟาดตัวไปมาอย่างแรง
    ดิ้นให้หลุด
    นอนดิ้น
    ชักดิ้นชักงอ
  2. สั่นไหวกระดุกกระดิก
    หางจิ้งจกขาดยังดิ้นได้
  3. ไม่ตายตัว
    คำพูดดิ้นได้
  4. โดยปริยายหมายความว่า แก้ข้อหา, ปลดเปลื้องข้อหา, ในคำว่า ดิ้นไม่หลุด
  5. (ภาษาปาก) พยายามให้รอดพ้นจากอันตรายหรือความผิด
    เขาดิ้นสุดฤทธิ์เพื่อให้พ้นผิด
  6. (ภาษาปาก) เต้นรำตามจังหวะดนตรีที่ร้อนแรง
    ไปดิ้นที่ผับ

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

เทียบภาษาลาว ດິ້ງ (ดิ้ง)

คำนาม

[แก้ไข]

ดิ้น

  1. เส้นเงิน ทอง หรือทองแดง สำหรับปักลวดลายบนผ้าหรือแพรเป็นต้น