ดุก
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *C̥.dokᴰ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ດຸກ (ดุก), ภาษาคำเมือง ᨯᩩᨠ (ดุก), ภาษาเขิน ᨯᩩᨠ (ดุก), ภาษาไทลื้อ ᦡᦳᧅ (ดุก), ภาษาไทใหญ่ လုၵ်း (ลุ๊ก), ภาษาจ้วง ndoek, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง bya ndoek (ปลา ดก)
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | ดุก | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | dùk |
ราชบัณฑิตยสภา | duk | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /duk̚˨˩/(สัมผัส) |
คำนาม
[แก้ไข]ดุก (คำลักษณนาม ตัว)
- ชื่อปลาน้ำจืดทุกชนิดในสกุล Clarias วงศ์ Clariidae ไม่มีเกล็ด มีเงี่ยงเฉพาะที่ครีบอก ส่วนใหญ่ครีบหลังและครีบก้นยาวแต่ไม่ติดต่อกับครีบหาง เช่น ดุกอุย (C. macrocephalus Günther) ซึ่งมีขอบปลายกระดูกท้ายทอยมน กลม ดุกด้าน [C. batrachus (Linn.)] ซึ่งมีขอบปลายกระดูกท้ายทอยแหลม ดุกลำพัน [C. nieuhofi (Valenciennes)] ซึ่งมีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง