สน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์สน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsǒn
ราชบัณฑิตยสภาson
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/son˩˩˦/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงสณฑ์

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

สน

  1. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เช่น สนสองใบ หรือ เกี๊ยะเปลือกหนา (Pinus merkusii Jungh. de Vriese), สนสามใบ หรือ เกี๊ยะเปลือกบาง (P. kesiya Royle ex Gordon) ในวงศ์ Pinaceae, ทั้ง 2 ชนิดนี้ สนเขา ก็เรียก; สนหางกระรอก (Dacrydium elatum Blume) ในวงศ์ Cupressaceae; สนฉำฉา หรือ สนญี่ปุ่น [Podocarpus macrophyllus (Thunb.) D. Don] ในวงศ์ Podocarpaceae; สนทราย หรือ สนสร้อย (Baeckea frutescens L.) ในวงศ์ Myrtaceae; สนทะเล (Casuarina equisetifolia J.R. et G. Forst.) ในวงศ์ Casuarinaceae เป็นต้น

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

สน (คำอาการนาม การสน)

  1. ร้อยด้วยเชือกหรือด้ายเป็นต้น
    สนเข็ม
    สนตะพาย

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

ตัดทอนจาก สนใจ

คำกริยา[แก้ไข]

สน (คำอาการนาม การสน)

  1. (ภาษาปาก) สนใจ, ตั้งใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดหรือเรื่องใดเป็นพิเศษ, ใฝ่ใจ ใคร่รู้ ใคร่เห็น
    พวกเราจะไปดูหนังกัน สนไหม

รากศัพท์ 4[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์สอ-นอ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsɔ̌ɔ-nɔɔ
ราชบัณฑิตยสภาso-no
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sɔː˩˩˦.nɔː˧/(สัมผัส)

คำวิสามานยนาม[แก้ไข]

สน

  1. อักษรย่อของ สกลนคร

ดูเพิ่ม[แก้ไข]