ปรอท
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]รูปแบบอื่น
[แก้ไข]- (เลิกใช้) ปรอด
รากศัพท์
[แก้ไข]ยืมมาจากเขมร បារត (บารต), จากสันสกฤต पारद (ปารท) หรือบาลี ปารท
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | ปะ-หฺรอด | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | bpà-rɔ̀ɔt |
ราชบัณฑิตยสภา | pa-rot | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /pa˨˩.rɔːt̚˨˩/(สัมผัส) | |
คำพ้องเสียง | ปรอด |
คำนาม
[แก้ไข]ปรอท
- (ธาตุเคมี) ธาตุลำดับที่ 80 สัญลักษณ์ Hg เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของเหลว สีเงิน แข็งตัวที่ -38.36 °ซ. เดือดที่ 357 °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปทำเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ โลหะเจือซึ่งเรียกว่า อะมัลกัม (amalgam) ใช้ในงานทันตกรรมและทำเครื่องมือวิทยาศาสตร์อื่น ๆ สารประกอบของปรอทเป็นพิษ แต่บางอย่างใช้เป็นยาได้
- (ภาษาปาก) คำพ้องความของ เทอร์โมมิเตอร์ (คำลักษณนาม อัน)
- (ราชาศัพท์) ไข้, ใช้ว่า พระปรอท
- (ในเชิงเปรียบเทียบ) อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วว่องไว
- ไวเป็นปรอท
หมวดหมู่:
- ศัพท์ภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาเขมร
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาเขมร
- ศัพท์ภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤต
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาสันสกฤต
- ศัพท์ภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาบาลี
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาบาลี
- สัมผัส:ภาษาไทย/ɔːt̚
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีคำพ้องเสียง
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีการออกเสียงไอพีเอ
- ศัพท์ภาษาไทยที่มี 2 พยางค์
- คำหลักภาษาไทย
- คำนามภาษาไทย
- th:ธาตุเคมี
- ศัพท์ภาษาไทยที่เป็นภาษาปาก
- คำนามภาษาไทยที่ใช้คำลักษณนาม อัน
- ราชาศัพท์ภาษาไทย
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีตัวอย่างการใช้