ข้ามไปเนื้อหา

ศรี

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ศร. และ ศิร

ภาษาไทย

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์สี
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsǐi
ราชบัณฑิตยสภาsi
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/siː˩˩˦/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงสี
สีห์

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาสันสกฤต श्री (ศฺรี); เทียบภาษาบาลี สิริ หรือ สิรี

คำนาม

[แก้ไข]

ศรี

  1. มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ
    ศรีบ้าน
    ศรีเรือน
    ศรีเมือง
  2. ใช้นำหน้าคำบางคำเป็นการยกย่อง
    พระศรีรัตนตรัย
    วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

ยืมโดยกึ่งเรียนรู้จากภาษามาเลเซีย sirih (ซีเระฮ์, พลู)

คำนาม

[แก้ไข]

ศรี

  1. พลู
  2. (ราชาศัพท์) หมากพลู เรียกว่า พระศรี

รากศัพท์ 3

[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาเขมรกลาง ស្រី (สฺรี), ស្រីយ (สฺรีย), ស្រិយ (สฺริย), ឝ្រី (ศฺรี), ឝ្រិ (ศฺริ), ឝ្រីយ (ศฺรีย, ผู้หญิง), จากภาษาสันสกฤต स्त्री (สฺตฺรี, ผู้หญิง; ภรรยา)

รูปแบบอื่น

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

ศรี

  1. (ภาษาหนังสือ, ร้อยกรอง) ผู้หญิง

คำลักษณนาม

[แก้ไข]

ศรี

  1. (ร้อยกรอง) ใช้แก่คน
    พระปิตุราชมาตุรงค์ทรงพระสรวลเห็นสมควรคู่ครองกันสองศรี
    (อภัย)