เป่า
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ภาษาไทย[แก้ไข]
รากศัพท์[แก้ไข]
จากภาษาไทดั้งเดิม *powᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເປົ່າ (เป็่า), ภาษาไทลื้อ ᦔᧁᧈ (เป่า), ภาษาไทใหญ่ ပဝ်ႇ (ป่ว), ภาษาไทดำ ꪹꪜ꪿ꪱ (เป่า), ภาษาไทขาว ꪹꪜꪱꫀ (เปา1),, ภาษาอาหม 𑜆𑜧 (ปว์) หรือ 𑜆𑜨𑜧 (ปอ̂ว์), ภาษาจ้วง baeuq,ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง baeuq
การออกเสียง[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ | เป่า | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | bpào |
ราชบัณฑิตยสภา | pao | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /paw˨˩/(สัมผัส) |
คำกริยา[แก้ไข]
เป่า (คำอาการนาม การเป่า)
- พ่นลมออกมาทางปาก
- อาการที่ลมพุ่งเข้ามาหรือออกไปเช่นนั้น
- ตรงหน้าต่างลมเป่าดี
- ทำให้เครื่องดนตรีหรือสิ่งอื่นเกิดเสียงโดยใช้ลมปาก
- เป่าขลุ่ย
- ทำให้สิ่งที่อยู่ในลำกล้องเช่นกล้องเป่าเป็นต้น ออกจากลำกล้องโดยวิธีเป่า
- เป่ายานัตถุ์
- เป่าลูกดอก
- (ภาษาปาก) ฆ่าคนด้วยการยิง
- ไปขัดผลประโยชน์เจ้าพ่อเข้า ระวังจะถูกเป่าดับ
อ้างอิง[แก้ไข]
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 3 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต, 2554. หน้า 75.