ดิบ
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]สืบทอดจากไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ˀdipᴰˢ³, จากไทดั้งเดิม *C̥.dipᴰ; ร่วมเชื้อสายกับลาว ດິບ (ดิบ), คำเมือง ᨯᩥ᩠ᨷ (ดิบ), ไทลื้อ ᦡᦲᧇ (ดีบ), ไทใหญ่ လိပ်း (ลิ๊ป), จ้วง ndip; เทียบสุ่ย qdyubs, เบดั้งเดิม *zipᴰ¹, ไหลดั้งเดิม *Cuɾiːp, ออสโตรนีเซียนดั้งเดิม *(ma-)qudip (“อาศัยอยู่; มีชีวิต”)
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | ดิบ | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | dìp |
ราชบัณฑิตยสภา | dip | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /dip̚˨˩/(สัมผัส) |
คำคุณศัพท์
[แก้ไข]ดิบ (คำอาการนาม ความดิบ)
- ยังไม่สุก
- มะม่วงดิบ
- ยังไม่สุกด้วยไฟ
- เนื้อดิบ
- ข้าวดิบ
- เรียกสิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้สำเร็จรูปหรือยังไม่ได้เปลี่ยนรูปและลักษณะเดิมว่า วัตถุดิบ
- เรียกด้ายที่ยังไม่ได้ฟอกว่า ด้ายดิบ
- เรียกผ้าที่ทอด้วยด้ายดิบว่า ผ้าดิบ
- โดยปริยายเรียกชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุว่า คนดิบ
- โดยปริยายเรียกศพที่ไม่ได้เผาว่า ผีดิบ
- โดยปริยายเรียกดงที่มีต้นไม้หนาแน่นเขียวชอุ่มอยู่ทั้งปีว่า ดงดิบ
หมวดหมู่:
- ศัพท์ภาษาไทยที่สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม
- ศัพท์ภาษาไทยที่สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม
- ศัพท์ภาษาไทยที่รับมาจากภาษาไทดั้งเดิม
- สัมผัส:ภาษาไทย/ip̚
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีการออกเสียงไอพีเอ
- ศัพท์ภาษาไทยที่มี 1 พยางค์
- คำหลักภาษาไทย
- คำคุณศัพท์ภาษาไทย
- ศัพท์ภาษาไทยที่มีตัวอย่างการใช้