คอ
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ภาษาไทย[แก้ไข]
รูปแบบอื่น[แก้ไข]
- (เลิกใช้) ฅอ
รากศัพท์[แก้ไข]
จากภาษาไทดั้งเดิม *ɣoːᴬ, จากภาษาจีนยุคกลาง 喉 (MC ɦəu, “กล่องเสียง; ลำคอ”); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຄໍ (คํ), ภาษาไทใหญ่ ၶေႃး (ข๊อ̂), ภาษาอาหม 𑜁𑜦𑜡 (ขอ̂) หรือ 𑜁𑜞𑜦𑜡 (ขฺรอ̂), ภาษาจ้วง hoz, ภาษาแสก กฺ๊อ; เทียบภาษาเวียดนาม cổ (โก๋)
การออกเสียง[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ | คอ | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | kɔɔ |
ราชบัณฑิตยสภา | kho | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /kʰɔː˧/ |
คำนาม[แก้ไข]
คอ
- ส่วนของร่างกายที่ต่อศีรษะกับตัว
- ส่วนของภาชนะที่คอดอยู่ระหว่างตัวกับปาก
- คอหม้อ
- เรียกส่วนลำต้นของพรรณไม้วงศ์ปาล์มที่อยู่ระหว่างใบล่างสุดกับยอด
- คอมะพร้าว
- คอตาล
- โดยปริยายหมายความว่า ความมีใจชอบเสพสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอาจิณ
- คอเหล้า
- คอเบียร์
- คอหนัง
- คอละคร
การใช้[แก้ไข]
ส่วนของร่างกาย ราชาศัพท์ว่า พระศอ พระกัณฐ์ พระกัณฐา หรือ พระกรรฐ์