ข้ามไปเนื้อหา

งัว

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: งั่ว, งั๊ว, และ งิ้ว

ภาษาไทย

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์งัว
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงnguua
ราชบัณฑิตยสภาngua
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ŋua̯˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาจีนเก่า (OC *ŋʷɯ); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨦ᩠ᩅᩫ (งว็), ภาษาอีสาน งัว, ภาษาลาว ງົວ (ง็ว), ภาษาไทลื้อ ᦷᦣ (โฮ) หรือ ᦷᦇ (โง), ภาษาไทดำ ꪉꪺ (งัว), ภาษาไทใหญ่ ငူဝ်း (งู๊ว) หรือ ဝူဝ်း (วู๊ว), ภาษาอาหม 𑜆𑜥 (ปู) หรือ 𑜑𑜥 (หู)

รูปแบบอื่น

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

งัว

  1. (โบราณ) วัว

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

งัว

  1. (โบราณ) ลูกชายคนที่ 5
คำพ้องความ
[แก้ไข]

รากศัพท์ 3

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

งัว

  1. ไม้รับกงพัดที่โคนเสา 2 อันเพื่อกันไม่ให้เสาทรุดลงไปในหลุม

รากศัพท์ 4

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

งัว

  1. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุลเช่น ในสกุล Triacanthus วงศ์ Triacanthidae, ในสกุล Monacanthus วงศ์ Monacanthidae, ในสกุล Balistes วงศ์ Balistidae, ในสกุล Anacanthus วงศ์ Anacanthidae มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยเฉลี่ยยาว 30 เซนติเมตร บางชนิดยาวได้ถึง 75 เซนติเมตร ผิวหนังหยาบเหนียวหรือเป็นแผ่นกระดูกหนาเรียงติดต่อกัน ฟันเป็นแผ่น ใช้แทะเล็มหาอาหารตามแนวปะการังและพื้นท้องทะเล ก้านครีบหลังก้านแรกและครีบท้องเป็นแท่งกระดูกใหญ่คล้ายเขาสัตว์, บางชนิดมีชื่อเรียกว่า วัว หรือ กวาง

ภาษาคำเมือง

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

งัว (คำลักษณนาม ตั๋ว)

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨦᩫ᩠ᩅ (ง็ว)

ภาษาอีสาน

[แก้ไข]

รากศัพท์

[แก้ไข]

เทียบภาษาจีนเก่า (OC *ŋʷɯ); ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทย วัว หรือ งัว, ภาษาคำเมือง ᨦ᩠ᩅᩫ (งว็), ภาษาลาว ງົວ (ง็ว), ภาษาไทลื้อ ᦷᦣ (โฮ) หรือ ᦷᦇ (โง), ภาษาไทดำ ꪉꪺ (งัว), ภาษาไทใหญ่ ငူဝ်း (งู๊ว) หรือ ဝူဝ်း (วู๊ว), ภาษาอาหม 𑜆𑜥 (ปู) หรือ 𑜑𑜥 (หู)

คำนาม

[แก้ไข]

งัว

  1. วัว