ข้ามไปเนื้อหา

จี้

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์จี้
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงjîi
ราชบัณฑิตยสภาchi
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕiː˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຈີ້ (จี้)

คำนาม

[แก้ไข]

จี้

  1. เครื่องประดับมีรูปเหลี่ยม กลม หรือรี มักทำด้วยทองคำประดับเพชรพลอยเป็นต้น มีห่วงที่กรอบสำหรับห้อยคอ

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

เทียบภาษาจีนยุคกลาง (MC tshjeH, “หนาม”); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨧᩦ᩶ (จี้), ภาษาเขิน ᨧᩦ᩶ (จี้), ภาษาลาว ຈີ້ (จี้), ภาษาไทลื้อ ᦈᦲᧉ (จี้), ภาษาไทใหญ่ ၸီႈ (จี้)

คำกริยา

[แก้ไข]

จี้ (คำอาการนาม การจี้)

  1. เอานิ้วมือหรือสิ่งของจดหรือแหย่เข้าไป
  2. เอามือแหย่ให้รู้ตัวหรือให้สะดุ้ง
    จี้เอว
  3. ติดตามอย่างกระชั้นชิด
    วิ่งจี้หลังมา
  4. (ภาษาปาก) ใช้อาวุธขู่เข็ญบังคับให้ทำตาม
    จี้ชิงทรัพย์
  5. (ภาษาปาก) เข้มงวด, กวดขัน, เร่งเร้า, ติดตามเร่งรัด
    จี้ให้ทำงาน

คำคุณศัพท์

[แก้ไข]

จี้ (คำอาการนาม ความจี้)

  1. (ภาษาปาก, สแลง) ตลกขบขัน
    เรื่องนี้จี้มาก
ดูเพิ่ม
[แก้ไข]

รากศัพท์ 3

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

จี้

  1. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมแป้งข้าวเจ้านวดกับกะทิแล้วนึ่งให้สุก ปั้นเป็นก้อนกลมแบน หุ้มไส้ที่ทำด้วยน้ำตาลทรายเคี่ยวจนเหนียวผสมงาคั่ว แล้วคลุกนวลแป้งข้าวเจ้าที่คั่วสุก

รากศัพท์ 4

[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาคำเมือง [Term?]

คำนาม

[แก้ไข]

จี้

  1. คนทา, ชื่อไม้พุ่ม