พระราชกำหนด
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]พระ + ราช + กำหนด; เป็นศัพท์บัญญัติสำนักงานราชบัณฑิตยสภาของ Emergency Decree, Royal Ordinance
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ {เสียงพยัญชนะซ้ำ} | พฺระ-ราด-ชะ-กำ-หฺนด | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | prá-râat-chá-gam-nòt |
ราชบัณฑิตยสภา | phra-rat-cha-kam-not | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /pʰra˦˥.raːt̚˥˩.t͡ɕʰa˦˥.kam˧.not̚˨˩/(สัมผัส) |
คำนาม
[แก้ไข]พระราชกำหนด (คำลักษณนาม ฉบับ)
- (กฎหมาย, เฉพาะไทย) รูปแบบของกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นให้มีผลใช้บังคับไปพลางก่อนตามคำแนะนำของฝ่ายบริหาร เนื่องจากเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ตามเงื่อนไขที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ พระราชกำหนดเมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้วมีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติ