ข้ามไปเนื้อหา

ชาติ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์
{เสียงพยัญชนะซ้ำ}
ชาด[เสียงสมาส]
ชา-ติ-
[เสียงสมาส]
ชาด-ติ-
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงchâatchaa-dtì-châat-dtì-
ราชบัณฑิตยสภาchatcha-ti-chat-ti-
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕʰaːt̚˥˩/(สัมผัส)/t͡ɕʰaː˧.ti˨˩.//t͡ɕʰaːt̚˥˩.ti˨˩./
คำพ้องเสียงชาด
ชาต

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

ยืมมาจากสันสกฤต जाति (ชาติ, การเกิด) หรือบาลี ชาติ (การเกิด)

คำนาม

[แก้ไข]

ชาติ

  1. การเกิด, กำเนิด, มักใช้ว่า ชาติเกิด หรือ ชาติกำเนิด
    ถ้าทำไม่ดีก็เสียชาติเกิด
  2. ความมีชีวิตอยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย
    สบายทั้งชาติ
  3. เหล่ากอ, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์
    ชาตินักรบ
    ชาติไพร่

ดูเพิ่ม

[แก้ไข]

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

ความหมาย "กลุ่มชน" พัฒนามาจากรากศัพท์ 1 เริ่มใช้งานภายในครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 24[1] ส่วนความหมาย "ชุมชนทางการเมืองของกลุ่มคนร่วมชาติ" เริ่มนิยมใช้งานตั้งแต่ราวทศวรรษ 2420[2]

คำนาม

[แก้ไข]

ชาติ

  1. ประเทศ
    รู้คุณชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
  2. ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ, ประชาชาติ ก็ว่า
  3. กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในปกครองรัฐบาลเดียวกัน

รากศัพท์ 3

[แก้ไข]

คำนาม

[แก้ไข]

ชาติ

  1. ชนิด, จำพวก, ชั้น, หมู่
  2. คำสกรรถ, คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่
    รสชาติ
    คชาชาติ
    มนุษยชาติ

อ้างอิง

[แก้ไข]
  1. Matthew Thomas Reeder (2019) Categorical Kingdoms: Innovations in Ethnic Labeling and Visions of Communal States in Early Modern Siam (Doctoral dissertation), Cornell University, page 184
  2. Eiji Murashima (1988), chapter The Origin of Modern Official State Ideology in Thailand, in Journal of Southeast Asian Studies, volume 19, issue 1, Cambridge University Press on behalf of Department of History, National University of Singapore, pages 80-96