โทน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์โทน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtoon
ราชบัณฑิตยสภาthon
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰoːn˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

เทียบภาษาจีนยุคกลาง (MC tan, “เดี่ยว, หนึ่ง”)

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

โทน

  1. มีจำเพาะหนึ่งเท่านั้น, ใช้แก่สิ่งที่ตามปรกติควรจะมีมากกว่าหนึ่ง แต่มีเพียงหนึ่งเท่านั้นเรียกว่า โทน
    ลูกโทน
    มะพร้าวโทน

คำนาม[แก้ไข]

โทน

  1. ชื่อกลองประเภทหนึ่งสำหรับตีขัดจังหวะ ขึงหนังด้านเดียวคล้ายกลองยาว แต่เล็กและสั้นกว่า มี 2 ชนิด คือ โทนชาตรี และโทนมโหรี
  2. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง
คำสืบทอด[แก้ไข]
  • (กลอง): เขมร: ថូន (ถูน)

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

โทน

  1. ชื่อนกยางชนิดหนึ่ง เรียกว่า ยางโทน

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาอังกฤษ tone

คำนาม[แก้ไข]

โทน

  1. ระดับความเข้มของสี
  2. ระดับเสียง