เพลา

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาสันสกฤต वेला (เวลา) หรือภาษาบาลี เวลา; ร่วมรากกับ เพล

รูปแบบอื่น[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เพ-ลา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงpee-laa
ราชบัณฑิตยสภาphe-la
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pʰeː˧.laː˧/(สัมผัส)

คำนาม[แก้ไข]

เพลา

  1. (ภาษาหนังสือ, ร้อยกรอง) เวลา, กาล, คราว

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาเขมร ភ្លៅ (ภฺเลา, แกนหมุน; ไม้ยาว)

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เพฺลา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงplao
ราชบัณฑิตยสภาphlao
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pʰlaw˧/(สัมผัส)

คำนาม[แก้ไข]

เพลา

  1. แกนสำหรับสอดในดุมรถหรือดุมเกวียน
  2. แกนสำหรับให้ล้อหรือใบจักรหมุน
  3. ไม้สำหรับขึงใบเรือ

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

ไม่ทราบรากศัพท์

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เพฺลา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงplao
ราชบัณฑิตยสภาphlao
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pʰlaw˧/(สัมผัส)

คำนาม[แก้ไข]

เพลา

  1. (โบราณ) ชื่อกระดาษสาชนิดบาง โบราณใช้ร่างหนังสือด้วยดินสอดำหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นเช่นใช้ปิดหุ่นหัวโขนและหุ่นอื่น ๆ เรียกว่า กระดาษเพลา

รากศัพท์ 4[แก้ไข]

แผลงมาจาก เบา

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เพฺลา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงplao
ราชบัณฑิตยสภาphlao
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pʰlaw˧/(สัมผัส)

คำกริยา[แก้ไข]

เพลา

  1. เบาลง, เบาพอประมาณ
    เพลาไม้เพลามือ

รากศัพท์ 5[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาเขมร ភ្លៅ (ภฺเลา, ตัก); เทียบภาษามอญ-เขมรดั้งเดิม *bluuʔ

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เพฺลา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงplao
ราชบัณฑิตยสภาphlao
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pʰlaw˧/(สัมผัส)

คำนาม[แก้ไข]

เพลา

  1. (ราชาศัพท์) ตัก, ช่วงขาตั้งแต่เข่าถึงโคนขา