หาง
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *trwɤːŋᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉᩣ᩠ᨦ (หาง), ภาษาลาว ຫາງ (หาง), ภาษาไทลื้อ ᦠᦱᧂ (หาง), ภาษาไทดำ ꪬꪱꪉ (หาง), ภาษาไทใหญ่ ႁၢင် (หาง), ภาษาอาหม 𑜍𑜂𑜫 (รง์), ภาษาแสก หร่วง, ภาษาจ้วง rieng, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง hang หรือ tang
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | หาง | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | hǎang |
ราชบัณฑิตยสภา | hang | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /haːŋ˩˩˦/(สัมผัส) |
คำนาม
[แก้ไข]หาง
- ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลำตัวสัตว์
- ขนสัตว์จำพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น
- ส่วนท้ายหรือปลาย
- หางเชือก
- หางแถว
- (สุภาพ) คำสุภาพเรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง
- เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสงลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง
- เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วนที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง
- หางเหล้า
- หางกะทิ
- หางน้ำนม
- ส่วนของตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง
คำลักษณนาม
[แก้ไข]หาง
คำสืบทอด
[แก้ไข]- → เขมร: ហាង (หาง)