ขี้
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ภาษาไทย[แก้ไข]
รากศัพท์[แก้ไข]
จากภาษาไทดั้งเดิม *C̬.qɯjꟲ, จากภาษาจีนเก่า 屎 (OC *hliʔ, *hri); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨡᩦ᩶ (ขี้), ภาษาลาว ຂີ້ (ขี้), ภาษาไทลื้อ ᦃᦲᧉ (ฃี้), ภาษาไทใหญ่ ၶီႈ (ขี้), ภาษาไทใต้คง ᥑᥤᥲ (ฃี้), ภาษาไทดำ ꪄꪲ꫁ (ฃิ้), ภาษาอาหม 𑜁𑜣 (ขี), ภาษาจ้วง haex, ภาษาแสก ไกฺ.ภาษาจ้วงใต้ kij
การออกเสียง[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ | คี่ | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | kîi |
ราชบัณฑิตยสภา | khi | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /kʰiː˥˩/(ส) | |
คำพ้องเสียง | คี่ |
คำกริยา[แก้ไข]
ขี้ (คำอาการนาม การขี้)
คำนาม[แก้ไข]
ขี้
- กากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออกทางทวารหนัก, อุจจาระ
- สิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่
- ขี้ไคล
- ขี้รังแค
- ขี้หู
- ขี้ตา
- โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ
- ขี้ตะกั่ว
- เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น ๆ
- ขี้กบ
- ขี้เลื่อย
คำอนุภาค[แก้ไข]
ขี้
- ใช้ประกอบหน้าคำที่แสดงความหมายในทางที่ไม่ดี
- ขี้เกียจ
- ขี้เหนียว
- ใช้ประกอบหน้าคำที่แสดงว่ามักเป็นเช่นนั้น
- ขี้หัวเราะ
- ขี้ขอ
คำพ้องความ[แก้ไข]
- ดูที่ อรรถาภิธาน:ขี้
ภาษาญ้อ[แก้ไข]
คำนาม[แก้ไข]
ขี้
- ขี้