เปียก

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เปียก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงbpìiak
ราชบัณฑิตยสภาpiak
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pia̯k̚˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ປຽກ (ปย̂ก), ภาษาไทใหญ่ ပဵၵ်ႇ (เป่ก)

คำกริยา[แก้ไข]

เปียก (คำอาการนาม การเปียก)

  1. มีน้ำชุ่มปนผสมอยู่หรือติดอยู่
    เปียกเหงื่อ
    เปียกฝน
    เปียกน้ำ

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

เปียก (คำอาการนาม ความเปียก)

  1. ที่ชุ่มน้ำ
    ผมเปียก
    ผ้าเปียก
    เหงื่อเปียก

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

เปียก (คำอาการนาม การเปียก)

  1. (ล้าสมัย) กวนสิ่งเช่นข้าวหรือแป้งเป็นต้นบนไฟให้สุก
    เปียกข้าวเหนียว
    เปียกสาคู

คำนาม[แก้ไข]

เปียก

  1. เรียกข้าวที่ต้มและกวนให้เละ หรือข้าวที่ต้มกับน้ำกะทิเจือเกลือเล็กน้อย กวนให้สุกจนข้นหรือเละ มีรสเค็มมันว่า ข้าวเปียก
  2. เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าตั้งไฟกวนกับน้ำตาลหม้อและกะทิ หยอดให้มีขนาดพอคำแล้วโรยถั่วทองคั่ว ว่า ขนมเปียก

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

เปียก

  1. อ่อนเกือบเละอย่างข้าวเปียก
  2. เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงข้าวเปียก
    แป้งเปียก
    สาคูเปียก