ข้ามไปเนื้อหา

ลง

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี

ภาษาไทย

[แก้ไข]

รากศัพท์

[แก้ไข]

สืบทอดจากไทดั้งเดิม *n̩.loŋᴬ; ร่วมเชื้อสายกับคำเมือง ᩃᩫ᩠ᨦ (ล็ง), ลาว ລົງ (ล็ง), ไทลื้อ ᦟᦳᧂ (ลุง), ไทดำ ꪶꪩꪉ (โลง), ไทใหญ่ လူင်း (ลู๊ง), ไทใต้คง ᥘᥨᥒᥰ (โล๊ง), อาหม 𑜎𑜤𑜂𑜫 (ลุง์), จ้วง roengz, ภาษาจ้วงใต้ loengz/noengz

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ลง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlong
ราชบัณฑิตยสภาlong
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/loŋ˧/(สัมผัส)

คำกริยา

[แก้ไข]

ลง (คำอาการนาม การลง)

  1. ไปสู่เบื้องต่ำหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น
    น้ำลง
    เครื่องบินลง
  2. ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น
    ลงดิน
    ลงบันได
    ลงเรือ
  3. เอาเครื่องมือจับสัตว์น้ำวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์น้ำ
    ลงข่าย
    ลงลอบ
    ลงอวน
    ลงเบ็ด
  4. จด
    ลงบัญชี
  5. ทำพิธีจารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    ลงเลขลงยันต์
    ลงนะหน้าทอง
    ลงกระหม่อม
  6. ยอม
    ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่
  7. ตีพิมพ์ออกเผยแพร่
    เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง
    ลงแจ้งความ
  8. ตกลงปลงใจแล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่
    ลงได้ทำเป็นไม่ทิ้ง
    ลงสู้แล้วไม่ถอย
  9. ปลูก
    ลงมะพร้าว
    ลงลิ้นจี่
  10. ลด
    ราคาทองลง
    ค่าเงินดอลลาร์ลง
  11. ตก
    น้ำค้างลง
    ฝนลง
    หมอกลง
  12. เฆี่ยน
    ลงไม้
    เอาหวายลงหลัง
  13. ท้องเดิน
    ทั้งลงทั้งราก
  14. (ภาษาปาก, การคอมพิวเตอร์) ติดตั้ง (โปรแกรม)

คำกริยาวิเศษณ์

[แก้ไข]

ลง

  1. อาการที่ไปสู่เบื้องต่ำ
    ไหลลง
    เลื่อนลง
    ถอยลง
  2. มากกว่าเดิม
    เลวลง
    ผอมลง
    ถูกลง
    สั้นลง

ภาษาคำเมือง

[แก้ไข]

การออกเสียง

[แก้ไข]

คำกริยา

[แก้ไข]

ลง (คำอาการนาม ก๋ารลง หรือ ก๋านลง)

  1. (อกรรม, สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᩃᩫ᩠ᨦ (ล็ง)