ขวาน
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ภาษาไทย[แก้ไข]
การออกเสียง[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์ | ขฺวาน | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | kwǎan |
ราชบัณฑิตยสภา | khwan | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /kʰwaːn˩˩˦/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1[แก้ไข]
จากภาษาไทดั้งเดิม *xwaːnᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຂວານ (ขวาน), ภาษาไทลื้อ ᦧᦱᧃ (ฃฺวาน) หรือ ᦃᦱᧃ (ฃาน), ภาษาไทดำ ꪄꪫꪱꪙ (ฃวาน), ภาษาไทใหญ่ ၵႂၢၼ် (กฺวาน) หรือ ၶႂၢၼ် (ขฺวาน), ภาษาอาหม 𑜁𑜃𑜫 (ขน์),ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง kvan, ภาษาจ้วง van
คำนาม[แก้ไข]
ขวาน
- เครื่องมือสำหรับตัด ฟัน ผ่า ถากไม้ ทำด้วยเหล็ก มีสันหนาใหญ่, ถ้าบ้องที่หัวบิดได้สำหรับตัดและถาก เรียกว่า ขวานโยน, ขวานปูลู หรือ ขวานปุลู ก็เรียก, ถ้าด้ามสั้น สันหนา มีบ้องยาวตามสันเป็นเครื่องมือของช่างไม้ ใช้ตัด ถาก ฟัน เรียกว่า ขวานหมู, ถ้าด้ามยาว ใบขวานใหญ่ เรียกว่า ขวานผ่าฟืน
- หมอนที่ทำหน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายขวาน ใช้อิง เรียกว่า หมอนขวาน
รากศัพท์ 2[แก้ไข]
คำนาม[แก้ไข]
ขวาน