แร้ง
หน้าตา
ดูเพิ่ม: แรง
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩁᩯ᩠᩶ᨦ (แร้ง), ภาษาลาว ແຮ້ງ (แฮ้ง), ภาษาไทลื้อ ᦶᦣᧂᧉ (แฮ้ง), ภาษาแสก แรง
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | แร้ง | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | rɛ́ɛng |
ราชบัณฑิตยสภา | raeng | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /rɛːŋ˦˥/(สัมผัส) |
คำนาม
[แก้ไข]แร้ง (คำลักษณนาม ตัว)
- (นก~, อี~) ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Accipitridae หัวเล็ก ลำคอไม่มีขนหรือเป็นขนอุยห่าง ๆ ปีกกว้าง หางสั้น ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้สูง กินซากสัตว์ ไม่ล่าเหยื่อเหมือนเหยี่ยวและอินทรีทั่วไป เช่น แร้งเทาหลังขาว [Gyps bengalensis (Gmelin)] แร้งดำหิมาลัย [Aegypius monachus (Linn.)] พญาแร้ง [Sarcogyps calvus (Scopoli)]
ภาษาคำเมือง
[แก้ไข]การออกเสียง
[แก้ไข]- (เชียงใหม่) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย): /hɛːŋ˦˥/
คำนาม
[แก้ไข]แร้ง (คำลักษณนาม ตัว)
- อีกรูปหนึ่งของ ᩁᩯ᩠᩶ᨦ (แร้ง)