เทา

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: เท่า และ เท้า

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์เทา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtao
ราชบัณฑิตยสภาthao
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰaw˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

มาจากภาษาเขมร ទៅ (เทา)

คำกริยา[แก้ไข]

เทา

  1. (ร้อยกรอง) ไป
    ยกย่างพลพลันเทา เท่าแล้ว

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເທົາ (เท็า), ภาษาคำเมือง ᨴᩮᩢᩤ (เทัา), ภาษาเขิน ᨴᩮᩢᩤ (เทัา), ภาษาไทลื้อ ᦑᧁ (เทา), ภาษาไทใหญ่ တဝ်း (ต๊ว), ภาษาไทใต้คง ᥖᥝᥰ (เต๊า)

คำนาม[แก้ไข]

เทา

  1. ชื่อสาหร่ายสีเขียวน้ำจืดชนิดหนึ่งในสกุล Spirogyra วงศ์ Zygnemataceae เป็นเส้นละเอียดสีเขียว มีเมือกลื่น บางชนิดกินได้

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເທົາ (เท็า); เป็นไปได้ว่าเกี่ยวข้องกับ เถ้า

คำคุณศัพท์[แก้ไข]

เทา (คำอาการนาม ความเทา)

  1. สีหม่น อย่างสีขี้เถ้า
  1. (ภาษาปาก, สแลง) ดีเลวหรือถูกผิดปนเปกันอยู่
    ธุรกิจสีเทา
ดูเพิ่ม[แก้ไข]
สีในภาษาไทย
     แดง      เขียว      เหลือง      ครีม      ขาว
     เลือดหมู      บานเย็น      น้ำเงินอมเขียว      มะนาว      ชมพู
     คราม      น้ำเงิน      ส้ม      เทา      เม็ดมะปราง
     ดำ      ม่วง      น้ำตาล      ฟ้า      ฟ้าอมเขียว

รากศัพท์ 4[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

เทา

  1. (โบราณ) ยอบตัวลง, หมอบลง, คุกเข่า

รากศัพท์ 5[แก้ไข]

คำกริยาวิเศษณ์[แก้ไข]

เทา

  1. มีอาการสั่นรัว ๆ อย่างคนเป็นไข้
    สั่นเทา