กำ

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ก̂า, กา, ก่า, ก่ำ, ก้า, ก้ำ, ก๋า, และ ก๋ำ

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์กำ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงgam
ราชบัณฑิตยสภาkam
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kam˧/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงกรรม

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *kamᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨠᩣᩴ (กาํ), ภาษาเขิน ᨠᩣᩴ (กาํ), ภาษาลาว ກຳ (กำ), ภาษาไทลื้อ ᦂᧄ (กัม), ภาษาไทใหญ่ ၵမ် (กัม), ภาษาพ่าเก ကံ (กํ), ภาษาอาหม 𑜀𑜪 (กํ), ภาษาจ้วง gaem, ภาษาแสก กั๋ม

คำกริยา[แก้ไข]

กำ (คำอาการนาม การกำ)

  1. งอนิ้วมือทั้ง 4 ให้จดอุ้งมือ
  2. เอานิ้วมือทั้ง 5 โอบรอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, อาการที่งอนิ้วมือทั้ง 5 รวบสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้

คำนาม[แก้ไข]

กำ

  1. มือที่กำเข้า
  2. ปริมาณของเต็มมือที่กำเข้า, กำมือ ก็ว่า
  3. มาตราวัดรอบของกลม เมื่อวัดได้เท่าไร แล้วทบกึ่งได้ยาวราว 10 เซนติเมตร เช่น ของกลมวัดรอบได้ยาว 20 เซนติเมตร ของกลมนั้นเรียกว่ามีขนาด 1 กำ, มี 3 ชนิด คือ 1. กำสลึง (ยาว 4 นิ้ว 1 กระเบียด หรือ 10.75 เซนติเมตร) 2. กำเฟื้อง (ยาว 4 นิ้วครึ่งกระเบียด หรือ 10.5 เซนติเมตร) 3. กำสองไพ (ยาว 4 นิ้ว 2 หุน หรือ 10.25 เซนติเมตร)

คำลักษณนาม[แก้ไข]

กำ

  1. เรียกผักหรือหญ้าที่มัดไว้
    ผักกำหนึ่ง
    หญ้า 2 กำ

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

กำ

  1. ซี่ล้อรถหรือเกวียน

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

กำ

  1. (โบราณ, ปัจจุบันเป็นภาษาปาก) กรรม
    ไข้เจ็บหมอตั้งกำไว้

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

กำ

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨣᩤᩴ (คาํ)