มาน

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: ม่าน และ ม๊าน

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์มาน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงmaan
ราชบัณฑิตยสภาman
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/maːn˧/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงมาร
มาลย์

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

มาน

  1. ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น มีถุงน้ำเกิดที่เยื่อบุช่องท้อง การอุดกั้นหลอดเลือดดำหรือทางเดินของน้ำเหลือง ตับแข็ง ลิ้นหัวใจพิการ ไตอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีน้ำสีเหลืองใสอยู่ในช่องท้อง อาจมีเพียงเล็กน้อยหรือมากถึง 15-20 ลิตร เป็นเหตุให้หน้าท้องโป่งพองจนเห็นได้ชัด น้ำหนักเพิ่ม แน่นท้อง ท้องผูก เบื่ออาหาร หายใจลำบาก เท้าบวม เป็นต้น
คำประสม[แก้ไข]

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาสันสกฤต मान (มาน, ความถือตัว) หรือภาษาบาลี มาน (ความถือตัว)

คำนาม[แก้ไข]

มาน

  1. ความถือตัว

ดูเพิ่ม[แก้ไข]

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

แผลงมาจาก มน, จากภาษาสันสกฤต मन (มน, ใจ) หรือภาษาบาลี มน (ใจ)

คำนาม[แก้ไข]

มาน

  1. (ร้อยกรอง) ใจ, ดวงใจ
    ดวงมาน

รากศัพท์ 4[แก้ไข]

ยืมมาจากภาษาเขมรเก่า មាន (มาน, มี)

คำกริยา[แก้ไข]

มาน

  1. (ร้อยกรอง, สกรรม) มี
    มานพระบัณฑูร

รากศัพท์ 5[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ມານ (มาน), ภาษาไทลื้อ ᦙᦱᧃ (มาน), ภาษาไทใหญ่ မၢၼ်း (ม๊าน), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง mat (มาด) (เช่น mat lug, มาดลูก, "ตั้งท้อง")

คำกริยา[แก้ไข]

มาน

  1. (โบราณ) ตั้งท้อง
    มานลูก
    ข้าวมาน

ภาษาคำเมือง[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

มาน (คำอาการนาม ก๋ารมาน หรือ ก๋านมาน)

  1. (อกรรม, สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᨾᩣ᩠ᨶ (มาน)