จ่า

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: จา, จำ, จ่ำ, จ้า, จ้ำ, จ๋า, และ จ๋ำ

ภาษาไทย[แก้ไข]

การออกเสียง[แก้ไข]

การแบ่งพยางค์จ่า
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงjàa
ราชบัณฑิตยสภาcha
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕaː˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1[แก้ไข]

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຈ່າ (จ่า), ภาษาคำเมือง ᨧ᩵ᩣ (จ่า), ภาษาเขิน ᨧ᩵ᩣ (จ่า), ภาษาไทลื้อ ᦈᦱᧈ (จ่า)

คำนาม[แก้ไข]

จ่า

  1. หัวหน้า, หัวโจก
    จ่าฝูง
    จ่าโขลง
  2. ยศทหารและตำรวจชั้นประทวน
  3. บรรดาศักดิ์ในราชสำนัก
    จ่าแผลงฤทธิ รอนราญ
    จ่าเร่ง งานรัดรุด
  4. ตำแหน่งหัวหน้าธุรการบางอย่าง
    จ่าศาล

รากศัพท์ 2[แก้ไข]

คำนาม[แก้ไข]

จ่า

  1. การเอาข้าวสุกกับขี้เถ้าคลุกกันปะตรงกลางหน้ากลองเพื่อให้เสียงสูงต่ำ

รากศัพท์ 3[แก้ไข]

คำกริยา[แก้ไข]

จ่า (คำอาการนาม การจ่า)

  1. บอก, เขียนบอก
    จ่าหน้าซองจดหมาย
  2. ถูกปรับ (ในการเล่นโยนหลุมเป็นต้น)

รากศัพท์ 4[แก้ไข]

เทียบภาษาจีนยุคกลาง (MC tsraewX|tsraewH)

คำนาม[แก้ไข]

จ่า

  1. เครื่องใช้ตักแกงหรือตักข้าว ทำด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามถือ, กระจ่า จวัก หรือ ตวัก ก็ว่า